q News & Event | Thailand Trust Mark

       

หากพูดถึงกิจกรรม CSR เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นหูกันอยู่ไม่น้อย เพราะเป็นกิจกรรมที่เรามักได้ยินอยู่บ่อย ๆ  จากแคมเปญของหลายบริษัท  เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องคำนึงถึง แน่นอนว่าการประกอบธุรกิจนอกจากการคำนึงถึงผลประกอบการแล้ว การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่สำคัญ นั่นรวมไปถึงกระบวนการคิด กระบวนการผลิต และการใช้นวัตกรรมที่ต้องคำนึงถึงชุมชนและสังคมให้ได้มากที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้ธุรกิจของตนนั้นส่งต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากร สิ่งแวดล้อม รวมถึงส่งผลกระทบต่อสังคม

            เพื่อควบคุมให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปด้วยความชอบธรรม แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมโลก Thailand Trust Mark หรือ T Mark โดย กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม กำหนดคุณสมบัติอย่าง CSR-DIW เป็นคุณสมบัติที่ช่วยประเมินความสามารถด้านความรับผิดชอบต่อสังคมก่อนการสมัครขอรับตราสัญลักษณ์ T Mark ที่ระบุว่า “ผู้สมัครจะต้องกรอกแบบฟอร์มประเมินตนเองด้านการดำเนินงานที่คำถึงถึงผลกระทบต่อสังคม ตามหลักเกณฑ์ CSR-DIW โดยจะต้องมีการดำเนินงานตามหลักปฏิบัติของ CSR-DIW ของกระทรวงอุตสาหกรรม ไม่น้อยกว่า 4 ข้อ (จาก 7 ข้อ)”

แล้ว CSR-DIW คืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับ CSR-DIW ให้มากขึ้น

CSR-DIW คืออะไร

            CSR-DIW ย่อมาจาก Corporate Social Responsibility, Department of Industrial Works เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมตามเกณฑ์มาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม ซึ่งมีแนวคิดหลักการดำเนินกิจการภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยผสานความใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเข้าด้วยกัน นอกเหนือจากการมุ่งสู่การเติบโตของธุรกิจเพียงอย่างเดียว

CSR-DIW มีอะไรบ้าง

CSR-DIW ประกอบด้วยหัวข้อหลัก 7 ประการ ได้แก่
1. ผู้ประกอบการต้องสร้างและให้ความรู้ ความเข้าใจในเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานของโรงงานอุตสาหกรรมให้แก่บุคลากร

  1. ผู้ประกอบการต้องให้คำแนะนำ ให้ความรู้ด้านนวัตกรรม เทคโนโลยีในการดูแลสิ่งแวดล้อมในโรงงาน
  2. ผู้ประกอบการต้องดำเนินงานอย่างเป็นธรรม ตรวจสอบได้ และคัดค้านการทุจริตหรือพฤติกรรมที่ไม่เป็นธรรมทั้งหลายรูปแบบ
  3. ผู้ประกอบการต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค แสดงความจริงใจต่อการผลิต เปิดเผยข้อมูลการผลิตอย่างเป็นจริงให้แก่ผู้บริโภค
  4. ผู้ประกอบการต้องมีส่วนร่วมกับชุมชน ต้องรับฟังความคิดเห็นของชุมชน     
  5. ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติกับแรงงาน เน้นการปฏิบัติกับพนักงานหรือแรงงานอย่างเป็นธรรม คุ้มครองด้านความปลอดภัย สุขภาพ สวัสดิการต่าง ๆ และค่าจ้างที่ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมตามหลักมาตรฐานแรงงาน เป็นต้น
  6. ผู้ประกอบการต้องให้ความเท่าเทียมผู้ด้อยโอกาสหรือผู้พิการให้มีโอกาสในการทำงาน

            แน่นอนว่าการประเมินคุณภาพด้าน CSR มุ่งเน้นการทำงานที่สร้างความรับผิดชอบต่อสังคม ครอบคลุมทั้งการให้ความรู้ ความเข้าใจ แก่พนักงานเพื่อเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ให้ความเท่าเทียมแก่พนักงาน มีการดำเนินงานที่โปร่งใส เปิดเผยต่อผู้บริโภค ตลอดจนการแสดงออกต่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ และชุมชน เพื่อลดผลกระทบจากการผลิตสินค้าและบริการมากที่สุด

            จะเห็นได้ว่ากิจกรรม CSR เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการประกอบธุรกิจ นอกจากเพิ่มผลกำไร ยังส่งเสริมภาพลักษณ์ของธุรกิจ เพิ่มความเชื่อมั่นและความเป็นธรรมของการดำเนินธุรกิจ เรียกได้ว่า CSR เป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่จะผลักดันให้ธุรกิจของคุณเติบโตอย่างสมบูรณ์และเป็นที่ยอมรับไปอีกขั้น

            สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการตราสัญลักษณ์ที่รับรองคุณภาพสินค้าและบริการไทย ทีได้รับมาตรฐานสากลมีการใช้แรงงานที่เป็นธรรม คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.thailndtrustmark.com 

OTHER
News & Events

news_image
DITP ควงแบรนด์ T Mark ตีตลาดอินเดีย
Read More
news_image
Smart รอบด้านกับเจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า
Read More