q News & Event | Thailand Trust Mark

บริหารงานด้านบริการและ การบริการหลังการขาย การดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม ธรรมาภิบาล และสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคม ชุมชน และคํานึงถึงสิ่งแวดล้อม นับเป็นองค์ประกอบสําคัญ ในการช่วยผลักดันให้เกิดความสําเร็จทางธุรกิจ โครงการ สัญลักษณ์คุณภาพ Thailand

 

การดําเนินธุรกิจในปัจจุบัน ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง คุณภาพของสินค้าหรือบริการมิได้เป็นเพียงปัจจัยเดียวที่จะ สามารถทําให้ธุรกิจเติบโตได้ การบริหารงานด้านบริการและ การบริการหลังการขาย การดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม ธรรมาภิบาล และสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคม ชุมชน และคํานึงถึงสิ่งแวดล้อม นับเป็นองค์ประกอบสําคัญ ในการช่วยผลักดันให้เกิดความสําเร็จทางธุรกิจ โครงการ สัญลักษณ์คุณภาพ Thailand Trust Mark (TTM)

โดยสถาบันส่งเสริมการออกแบบและนวัตกรรมเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์จึงกําหนด จัดกิจกรรมสัมมนา Thailand Trust Mark: More than Quality ในวันพุธที่ 23 กรกฎาคม 2557 เวลา 9.00-15.30 น. ณแกรนด์บอลรูม 1ชั้น 5โรงแรมS31สุขุมวิท ซอย31 กรุงเทพฯ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทย ได้เปิดโลกทัศน์แห่งการ เรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกับวิทยากรจากองค์กร ช้ันนําทั้งในประเทศและต่างประเทศ

 

การบริการ: ธนาคารกสิกรไทย

     แนวทางการบริการที่เป็นเลิศ ธนาคารกสิกรไทย “มุ่งสู่คุณภาพการบริการระดับโลก” โดยกสิกรไทยตระหนักดีว่า 96% ของผู้รับบริการที่ไม่พอใจ ไม่เคยเอ่ยปากบ่นให้ได้ยิน 90% ของผู้รับบริการที่ไม่พอใจ จะไม่กลับมาใช้บริการหรือ ซื่อสินค้าอีก แต่ละคนที่ไม่พอใจ จะเล่าความไม่พอใจให้ญาติ เพื่อนฟัง อย่างน้อย 9 คน 13% ของผู้รับบริการที่ไม่พอใจ ได้บอกเล่าความไม่พอใจแก่คนอื่นอีกมากกว่า 20 คนขึ้นไป โดยองค์ประกอบของการบริการให้เป็นเลิศ

 

1. ผู้นำ (วิสัยทันศน์และนโยบาย)

2. การมีส่วนร่วม

3. การสื่อสาร

4. การสร้างแรงจูงใจ

5. การติดตามประเมินผล

6. การฝึกอบรม

7. การกำหนดหรือสร้างมาตรฐานการให้บริการ

เราต้องคิดเสมอว่า การบริการไม่ใช่สูตรสำเร็จตายตัว การบริการไม่ใช่แค่พนักงาน ส่งยิ้มพร้อมกับพูดว่า “ขอบคุณ” การบริการเป็นการส่งมอบการบริการด้วยความรู้สึกมีความสุขกับการให้บริการ เอาใจใส่ ใส่ใจ รับผิดชอบ ตอบสนอง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และความมั่นใจ เอาใจเขามาใส่ใจเรา จงคิดเสมอว่า บริการที่ดีที่สุดในวันนี้ อาจไม่ใช่บริการที่ดีที่สุดในวันหน้า

 

ความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และ สิ่งแวดล้อม: Google

     กูเกิลก่อตั้งมาในปี 1998 เป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ดังนั้น การดำเนินการด้าน CSR จึงเชื่อมโยงกับเรื่องเทคโนโลยี โดยกูเกิลจะร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ในสังคม เพื่อให้โครงการที่กูเกิลช่วยเหลือดำรงอยู่อย่างยั่งยืน โดยกูเกิลเป็นผู้จัดหาเทคโนโลยี ส่วนองค์การท้องถิ่นจัดหาเนื้อหา การดำเนินการด้าน CSR ของกูเกิล มีประเด็นหลัก 3 ประเด็น ได้แก่ 1.Social Impact ผลที่เกิดขึ้นทางสังคม อาทิ การร่วมมือกับมูลนิธิสตรีในประเทศไทย ให้ความรู้สตรี โดยเฉพาะต่างจังหวัดเรื่องการเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 2. Economy Impact ผลที่เกิดขึ้นทางเศรษฐกิจ อาทิ การให้ความรู้ผู้ประกอบการด้านธุรกิจออนไลน์ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดยุคใหม่ 3. Cutural Impact ผลที่เกิดขึ้นทางวัฒนธรรม อาทิ การร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ถ่ายภาพสถานที่สำคัญ แบบ 360 องศา

 

มิตรผล

     ตลอดระยะเวลากว่า 55 ปี กลุ่มมิตรผลดำเนินธุรกิจภายใต้ปรัชญาของการดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังค (Corporate Social Responsibility … CSR) กล่าวคือ มีการวางกรอบโครงสร้างการดำเนินงานที่โปร่งใส มีจรรยาบรรณให้ความเป็นธรรม และคำนึงถึงประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงคู่ค้า ลูกค้า ผู้บริโภค และที่สำคัญกลุ่มมิตรผลให้ความสำคัญต่อการดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยเชื่อว่าการดำเนินธุรกิจในลักษณะดังกล่าวเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน การดำเนินการของมิตรผลล้วนแล้วแต่เป็นการคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า อาทิ ชานอ้อยที่เหลือจากการทำน้ำตาล เรานำมาผลิตเป็นวัสดุทดแทนไม้ สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับทางมิตรผล สินค้าวัสดุทดแทนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ของยุโรปแต่มีคุณภาพดี เรานำมาผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ให้โรงเรียนในถื่นทุรกันดาร และช่วยเหลือผู้ประสบภัยอุทกภัย จะเห็นได้ว่าเราใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในแง่ธุรกิจ และช่วยเหลือสังคมเป็นการทำ CSR แบบยั่งยืน เพราะรเาทำในสิ่งที่เราต้องทำอยู่แล้ว

 

MIA COLLABORATION

     จงเป็นตัวของตัวเอง ทำ CSR แบบที่ตัวเองเป็น อย่าพยายามเป็นคนอื่นที่ไม่ใช่ตัวตนของเราเพราะผู้บริโภคจะรู้สึกได้ ดังนั้น Authenticity คือ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำ CSR กรณีศึกษาของ MIA Collaboration ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจ ในโจทย์ น้ำมะพร้าวส่งออก ผู้บริโภคต่างประเทศมิได้ให้ความสนใจเรื่องคุณภาพสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่สนใจในเรื่องราวของสินค้าด้วย (Story) เราจึงมีแนวคิด Community for Commodity สร้างชุมชนผู้ปลูกมะพร้าวให้มีคุณภาพที่ดี ภาพที่ผู้บริโภคอยากเห็น คือภาพผู้ปลูกมะพร้าวที่มีความสุข ไม่ใช่ภาพผู้ปลูกมะพร้าวที่ดูยากจน ดังนั้น เราขึงคิดโครงการช่วยเหลือผู้ปลูกมะพร้าวของเรา โดยการสนับสนุนบุตรหลานของผู้ปลูกมะพร้าวด้านการศึกษา จะศึกษาที่ใด ค่าเรียนแพงเท่าใดก็ได้ ข้อแม้มีเพียวแค่ผู้ปลูกมะพร้าวจะต้องส่งมะพร้าวให้เราเท่านั้น

 

Download: รายละเอียดงานสัมนา และ เอกสารยืนยันการเข้าร่วมงาน

 

OTHER
News & Events

news_image
TTM Training Series รุ่นที่ 4 หัวข้อ Power UP : The Spirit of Thai Enterprise
Read More
news_image
พิธีมอบประกาศนียบัตร T Mark 2018
Read More